สายไฟฟ้ามีกี่ประเภท อะไรบ้าง


สายไฟฟ้า คือ ตัวกลางในการนำกระแสไฟฟ้าจากแหล่งจ่ายไฟ ไปอุปกรณ์ไฟฟ้า ซึ่งสายไฟประกอบไปด้วย ตัวนำไฟฟ้าที่ทำจากโลหะซึ่งยอมให้กระแสไฟฟ้าไหลผ่านได้ดี และมีความต้านทานไฟฟ้าน้อย เช่น ทองแดง และฉนวนไฟฟ้าที่ใช้ในการหุ้มป้องกันที่ใช้ในการหุ้มป้องกันไม่ให้ผู้ใช้โดนสายโดยตรง และลดโอกาสที่จะทำให้เกิดอันตรายได้

สายไฟฟ้าแบ่งตามแรงดันได้เป็น 2 ประเภท ดังนี้

1. สายไฟฟ้าแรงดันสูง (High Voltage Power Cable)  : ใช้ในการส่งผ่านกระแสไฟฟ้าที่มีแรงดันสูงเพื่อส่งไฟฟ้าไปให้ถึงจุดหมายที่อยู่ไกลออกไปได้ และสามารถใช้ในระบบไฟฟ้าสาธารณะ เช่น ระบบไฟฟ้าในเมือง หรือใช้เป็นสายไฟใต้ทะเลหรือแม่น้ำ เพื่อใช้ในการส่งผ่านไฟฟ้าระยะไกลได้ มีการออกแบบและใช้วัสดุแตกต่างจากสายไฟฟ้าทั่วไป เพราะต้องมีความทนทานต่อแรงดันไฟฟ้าที่สูงกว่า จะมีชั้นฉนวนพิเศษหลายชั้นเพื่อป้องกันไฟฟ้ารั่ว

ลักษณะของสายไฟฟ้าแรงดันสูง : เป็นสายชนิดตีเกลียวที่มีขนาดใหญ่, สายมีทั้งแบบเปลือยและหุ้มฉนวน, สามารถรับแรงดันได้ตั้งแต่ 1KV - 36KV

1.1 ชนิดของสายไฟฟ้าแรงดันสูง

1.1.1 สายไฟชนิด AAC

1.1.2 สายไฟชนิด AAAC

1.1.3 สายไฟชนิด ACSR

1.1.4 สายไฟชนิด PIC

1.1.5 สายไฟชนิด SAC

1.1.6 สายไฟชนิด PAC

1.1.7 สายไฟชนิด XLPE

2. สายไฟฟ้าแรงดันต่ำ (Low Voltage Power Cable) : สายไฟฟ้าที่ออกแบบมาเพื่อใช้ในระบบไฟฟ้าที่มีแรงดันต่ำกว่าระบบไฟฟ้าแรงดันสูง โดยทั่วไปแล้ว แรงดันต่ำในทางไฟฟ้าหมายถึงแรงดันที่ต่ำกว่าหรือเทียบเท่า 1,000 โวลต์ (Volt) ในระบบไฟฟ้าประจำบ้านและอุตสาหกรรมทั่วไป สายไฟฟ้าแรงดันต่ำใช้ในการส่งผ่านกระแสจากแหล่งกำเนิดไปยังอุปกรณ์ต่างๆ ที่ต้องการพลังงานไฟฟ้า เช่น แอร์ เครื่องใช้ในครัว เครื่องใช้ในโรงงาน และอุปกรณ์อื่นๆ และมีฉนวนที่เหมาะสมเพื่อป้องกันไฟฟ้ารั่ว และมีความทนทานต่อสภาพแวดล้อม เช่น ความชื้น การรับแรงดันไฟฟ้าตามมาตราฐาน 

ลักษณะของสายไฟฟ้าแรงดันต่ำ : สายไฟที่ใช้กับแรงดันไฟฟ้าที่ไม่เกิน 750 โวลต์ (Volt), สายไฟทำด้วยทองแดงหรืออลูมิเนียม แต่โดยทั่วไปจะเป็นสายทองแดง, สายขนาดเล็กจะเป็นสายตัวนำเดี่ยว และสายขนาดใหญ่จะเป็นตัวนำตีเกลียว, ฉนวนที่ใช้งานจะเป็น PVC และ XLPP

2.1 ชนิดของสายไฟฟ้าแรงดันต่ำ

2.1.1 สายไฟชนิด THW

2.1.2 สายไฟชนิด VAF

2.1.3 สายไฟชนิด VCT

2.1.4 สายไฟชนิด NYY