อิฐมวลเบากับอิฐมอญแดงมีข้อดี - ข้อเสียต่างกันอย่างไร?
![]() |
![]() |
อิฐมวลเบา | อิฐมอญแดง |
ข้อดี | ข้อดี |
- น้ำหนักเบาเมื่อเทียบกับอิฐชนิดอื่น | - ทนแดด ทนฝน เหมาะกับสภาพอากาศเมืองไทย |
- กันลามไฟได้นาน 4 ชม. | - มีความแข็งแรง สามารถรองรับวัสดุกรุผนังที่มีน้ำหนักมากได้ดี |
- ระบายความร้อนได้ดีเพราะลักษณะโครงสร้างเป็นรูเล็กๆ | - ทนความชื้นได้ดี มีความหนาแน่นสูง |
- กันเสียงได้ดี | - ราคาถูกเพราะผลิตได้เองในประเทศไทย |
- ประหยัดต้นทุนได้ดีกว่า งานเสร็จไว | |
ข้อเสีย | ข้อเสีย |
- มีราคาสูงกว่าอิฐชนิดอื่นๆ | - มีน้ำหนักที่มากกว่าอิฐชนิดอื่น |
- ถ้าจะเจาะผนังต้องใช้พุ๊กสำหรับอิฐมวลเบาเท่านั้น | - อิฐมีความหนาแน่นมากจึงสะสมความร้อนมากกว่าระบายความร้อน |
- มีรูพรุนไม่ทนต่อความชื้น | - อิฐแต่ละก้อนขนาดไม่มีมาตราฐานแน่นอน |
- ต้องใช้ปูนก่อและฉาบสำหรับอิฐมวลเบาเท่านั้น | - อิฐมีขนาดเล็ก จึงทำให้ใช้เวลาก่อนาน |
การเลือกใช้งาน | การเลือกใช้งาน |
- ผนังภายในบ้าน ห้องนอน ห้องนั่งเล่น | - พื้นที่ที่โดนความชื้น เช่น ห้องน้ำ ห้องครัว |
- ผนังภายนอกที่ไม่โดนฝนสาดโดยตรง | - พื้นที่ที่โดนฝนสาดโดยตรง |
- ใช้ในตำแหน่งที่ต้องการน้ำหนักมาก เช่น อ่างล้างหน้า | |
ผนังก่อด้วยอิฐมวลเบามักมีรอยร้าว
เป็นเพราะอะไร ป้องกันได้อย่างไร ?
- รอยร้าวส่วนใหญ่มีสาเหตุมาจาก 3 ปัจจัย หลักๆ ดังนี้
1. เกิดจากการก่อที่ไม่ได้มาตรฐาน ลักษณะการแตกจะแตกเป็นเส้นตรงแนวนอนหรือแนวทแยง เพราะการก่อปูนก่อไม่เต็มหน้าอิฐ เวลาโครงสร้างขยับตัวจึงเกิดรอยแตกร้าวตามรอยต่อ การป้องกันต้องก่อให้ปูนก่อเต็มหน้าอิฐทั้ง 4 ด้าน
2. เกิดจากการตีน้ำปั่นหน้าปูนเร็วเกินไปทำให้เกิดการแตกลายงาเพราะผิวหน้าของปูนฉาบยังไม่เซ็ทตัวดีการป้องกันต้องรอให้ปูนฉาบเซ็ทตัวจนกดไม่ลงก่อนถึงจะทำการตีน้ำปั่นหน้าปูนได้
3. เกิดจากการฉาบหนาเกินไป ส่วนใหญ่จะเกิดกับการฉาบผนังภายนอกอาคารเพราะต้องฉาบเผื่องานโครงสร้าง การแตกจะเป็นลักษณะแตกร้าวและร่อน การป้องกันถ้าฉาบหนาเกิน 1.5 เซนติเมตรให้ทำการฉาบ 2 ครั้ง แบ่งฉาบให้ปูนฉาบเซ็ทตัวทีละชั้น การยุบตัวจะน้อยลง ฉาบครั้งแรกทิ้งไว้ประมาณ 1-2 วัน และทำการฉาบทับหน้าอีกครั้งจะช่วยลดปัญหาการแตกร้าวได้เป็นอย่างดี
ที่มา : www.thaiconproduct.com
2. เกิดจากการตีน้ำปั่นหน้าปูนเร็วเกินไปทำให้เกิดการแตกลายงาเพราะผิวหน้าของปูนฉาบยังไม่เซ็ทตัวดีการป้องกันต้องรอให้ปูนฉาบเซ็ทตัวจนกดไม่ลงก่อนถึงจะทำการตีน้ำปั่นหน้าปูนได้
3. เกิดจากการฉาบหนาเกินไป ส่วนใหญ่จะเกิดกับการฉาบผนังภายนอกอาคารเพราะต้องฉาบเผื่องานโครงสร้าง การแตกจะเป็นลักษณะแตกร้าวและร่อน การป้องกันถ้าฉาบหนาเกิน 1.5 เซนติเมตรให้ทำการฉาบ 2 ครั้ง แบ่งฉาบให้ปูนฉาบเซ็ทตัวทีละชั้น การยุบตัวจะน้อยลง ฉาบครั้งแรกทิ้งไว้ประมาณ 1-2 วัน และทำการฉาบทับหน้าอีกครั้งจะช่วยลดปัญหาการแตกร้าวได้เป็นอย่างดี
ที่มา : www.thaiconproduct.com
ชั้นคุณภาพคอนกรีตอิฐมวลเบา
คอนกรีตมวลเบาสามารถแบ่งชั้นคุณภาพตามมาตราฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมได้ตามความต้านทานแรงอัด
เป็น 4 ชั้นคุณภาพ และแบ่งตามความหนาแน่นเชิงปริมาตรเป็น 7 ชนิด ดังนี้
ชั้นคุณภาพ | ความต้านทานแรงอัด นิวตันต่อมิลลิเมตร |
ชนิดความหนาแน่น |
ความหนาแน่นเชิงปริมาตรเฉลี่ย |
ค่าเฉลี่ย | |||
2 | 2.5 | 0.4 | 0.31 ถึง 0.40 |
0.5 | 0.41 ถึง 0.50 | ||
4 | 5.0 | 0.6 | 0.51 ถึง 0.60 |
0.7 | 0.61 ถึง 0.70 | ||
0.8 | 0.71 ถึง 0.80 | ||
6 | 7.5 | 0.7 | 0.61 ถึง 0.70 |
0.8 | 0.71 ถึง 0.80 | ||
8 | 10.0 | 0.8 | 0.71 ถึง 0.80 |
0.9 | 0.81 ถึง 0.9 | ||
1.0 | 0.91 ถึง 1.00 |